เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 2. โสฬสญาณนิทเทส
เนกขัมมะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกกามฉันทะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น กามฉันทะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อพยาบาท เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อพยาบาทนั้น พยาบาท เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อพยาบาทที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกพยาบาทนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น พยาบาทจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อาโลกสัญญา เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยอาโลกสัญญานั้น ถีนมิทธะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักอาโลกสัญญาที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกถีนมิทธะ
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น ถีนมิทธะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
อวิกเขปะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
อวิกเขปะนั้น อุทธัจจะ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จัก
อวิกเขปะที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอุทธัจจะนั้นกั้นไว้
เพราะเหตุนั้น อุทธัจจะจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ธัมมววัตถาน เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออก
ด้วยธัมมววัตถานนั้น วิจิกิจฉา เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อม
ไม่รู้จักธัมมววัตถานที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกวิจิกิจฉา
นั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น วิจิกิจฉาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ญาณ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ญาณนั้น อวิชชาเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักญาณที่เป็น
ธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอวิชชานั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อวิชชาจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
ปามุชชะ เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อมออกด้วย
ปามุชชะนั้น อรติ เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออกและบุคคลย่อมไม่รู้จักปามุชชะ
ที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้ถูกอรตินั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น
อรติจึงชื่อว่าเป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก


{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :235 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 3. อานาปานัสสติกถา 3. อุปกิเลสญาณนิทเทส
กุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะและพระอริยะย่อม
ออกด้วยกุศลธรรมเหล่านั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวง เป็นเครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
และบุคคลย่อมไม่รู้จักกุศลธรรมที่เป็นธรรมเครื่องนำออกของพระอริยะ เพราะเป็นผู้
ถูกอกุศลธรรมเหล่านั้นกั้นไว้ เพราะเหตุนั้น อกุศลธรรมแม้ทั้งปวงจึงชื่อว่าเป็น
เครื่องกั้นธรรมเครื่องนำออก
เมื่อพระโยคาวจรผู้มีจิตหมดจดจากนิวรณ์เหล่านี้ เจริญสมาธิที่ประกอบด้วย
อานาปานสติอันมีวัตถุ 16 ความที่จิตตั้งมั่นเป็นไปเพียงชั่วขณะย่อมมีได้
โสฬสญาณนิทเทสที่ 2 จบ

3. อุปกิเลสญาณนิทเทส
แสดงญาณในอุปกิเลส
ปฐมฉักกะ
หมวดหก ที่ 1
[154] อุปกิเลส 18 เหล่าไหนย่อมเกิดขึ้น
คือ เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจเข้าที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และ
ที่สุด1 จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายใน ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
เมื่อพระโยคาวจรใช้สติไปตามลมหายใจออกที่ฐานเบื้องต้น ท่ามกลาง และที่สุด
จิตที่ถึงความฟุ้งซ่านในภายนอก ย่อมเป็นอันตรายต่อสมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจเข้า ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ
ความเป็นไปแห่งตัณหาคือความติดใจหวังลมหายใจออก ย่อมเป็นอันตรายต่อ
สมาธิ

เชิงอรรถ :
1 ฐานเบื้องต้น หมายถึงปลายจมูกหรือริมฝีปาก ฐานท่ามกลาง หมายถึงหทัย ฐานที่สุด หมายถึงสะดือ
(ขุ.ป.อ. 2/154/83)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :236 }